ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตเฮปต้าไฮเดรตหรือ “ดีเกลือฝรั่ง” มีประโยชน์กับพืชอย่างไร
สมัยก่อนเราอาจไม่ค่อยรู้จักปุ๋ยแมกนีเซียม แต่ตอนนี้เกษตรกรหลายท่านรู้จักกันดี เพียงแต่ว่าตัวที่ใช้กันอยู่อาจจะแพงเช่น แมกนีเซียมแบบน้ำเป็นลิตรที่ใช้ฉีดพ่นทางใบ แต่ผมจะแนะนำให้ใส่แมกนีเซียมซัลเฟตแบบเกล็ดทางดินครับ เพราะเป็นการให้ปุ๋ยแมกนีเซียมที่ดีที่สุด และถูกที่สุดด้วย ไม่ต้องใส่มากด้วยครับ ราว ๆ 2-4 กก ต่อไร่ต่อดือนเท่านั้นเอง ที่ผมให้ใส่แมกนีเซียมซัลเฟต เพราะในแมกนีเซียมซัลเฟต จะมีธาตุแมกนีเซียมอยู่ 10 % และมีซัลเฟอร์อยู่ 13 % พูดง่าย ๆ คือใส่ตัวเดียวได้ทั้งสองอย่างเลย ราคาก็ถุกด้วยครับ
ปัญหาการหาซื้อแมกนีเซียมซัลเฟต บ่อยครั้งจะทำเราสับสน เพราะในท้องตลาดจะมีแมกนีเซียมซัลเฟต อยู่ 2 ตัวด้วยกัน คือ
ปัญหาการหาซื้อแมกนีเซียมซัลเฟต บ่อยครั้งจะทำเราสับสน เพราะในท้องตลาดจะมีแมกนีเซียมซัลเฟต อยู่ 2 ตัวด้วยกัน คือ
1. แมกนีเซียมซัลเฟตเฮปต้าไฮเดรตหรือที่เรียกว่า “ดีเกลือฝรั่ง” ( เขียนว่า Magnesium sulphate heptahydrateมีสูตรทางเคมีว่า MgSO4.7H2O ) อันนี้จะมีธาตุแมกนีเซียมอยู่ 10 % และมีซัลเฟออยู่ 13 %
2. แมกนีเซียมซัลเฟต ( เฉย ๆ) มีสูตรทางเคมีว่า MgSO4 หรือที่เรียกว่า ปุ๋ยกลีเซอร์ไรด์ อันนี้จะมี ธาตุแมกนีเซียมอยู่ 20 % และมี ซัลเฟออยู่ 26 %
2. แมกนีเซียมซัลเฟต ( เฉย ๆ) มีสูตรทางเคมีว่า MgSO4 หรือที่เรียกว่า ปุ๋ยกลีเซอร์ไรด์ อันนี้จะมี ธาตุแมกนีเซียมอยู่ 20 % และมี ซัลเฟออยู่ 26 %
ที่ผมแนะนำให้ใช้คือ “แมกนีเซียมซัลเฟตเฮปต้าไฮเดรต” ที่เรียกว่า “ดีเกลือฝรั่ง” ดูดี ๆนะครับต้องมีคำว่า เฮปต้าไฮเดรต ซี่งจะมีธาตุแมกนีเซียมอยู่ 10 % และ มีซัลเฟออยู่ 13 % ที่กระสอบจะเขียนภาษาอังกฤษว่า Magnesium sulphate heptahydrate
ทำไมผมไม่แนะนำให้ใช้แมกนีเซียมซัลเฟตที่เรียกว่ากลีเซอร์ไรด์ ทั้งๆที่เปอร์เซ็น ธาตุแมกนีเซียม และซัลเฟอร์สูงกว่าเยอะ ทั้งนี้เพราะเจ้ากลีเซอร์ไรด์ ละลายช้ามาก ๆ ครับ มันเหมาะกับพืชพวก ปาล์ม แต่ไม่เหมาะกับ พืชไร่ และพืช สวน ที่มีวงจรการเติบโตเร็ว อย่างเช่น ข้าวโพด ข้าว แตงโม แตงกวา มะเขือ พวกนี้วงจรการเติบโตสั้น คับ 55-65 วันก็เก็บผลผลิตหมด แล้วถ้าใช้ เจ้ากลีเซอร์ไรด์แมกนีเซียมละลายออกมาไม่ทันใช้ครับ ในทำนองเดียวกัน ถ้าเป็นพืชสวน เช่น ทุเรียน มะม่วง และพืช อื่น ๆ ที่มีวงจรแตกใบ 1 แล้วแตกใบ 2 แล้วแตกดอก แบบนี้ก็ต้องใช้เจ้าแมกนีเซียมซัลเฟตเฮปต้าไฮเดรต เหมือนกันเพราะพอแตกใบ 1 พืชก็ต้องการใช้แมกนีเซียม (Mg )เพื่อเอาไปสังเคราะห์เป็นคลอโรฟิลล์ ถ้าไม่มี Mg ใบก็ไม่เขียวสร้างอาหารไม่ได้ เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์เพียงพอถ้ามัวไปใช้เจ้ากลีเซอร์ไรด์ แมกนีเซียมจะละลายออกมาไม่ทันใช้อีกครับ
ดังนั้นถ้าเป็นพืชสวน พืชไร่ทั่วไป เวลาหาปุ๋ย แมกนีเซียมมาใส่ ให้ใช้แมกนีเซียมซัลเฟตเฮปต้าไฮเดรต ที่เรียกว่า ดีเกลือฝรั่ง นะครับ ใส่ทางดินดีที่สุดถูกที่สุด แล้วปัญหาอีกอย่างที่มักจะพบคือ เพื่อน ๆ เกษตรกรหลายท่านจะใส่แมกนีเซียมเดี่ยว ๆ ฉีดทางใบมากไป เพราะเข้าใจว่าแมกนีเซียมทำให้ใบเขียว ที่เข้าใจนั้นถูกคับ แต่ถูกแค่ครึ่งเดียว แมกนีเซียมทำให้ใบเขียว แต่เป็นเขียวแค่เขียวคลอโรฟิลล์ ซึ่งจะมีสีเขียวแบบเขียวสดไม่ใช่เขียวเข้ม แต่เราคิดว่าที่ใบเขียวเพราะแมก เลยกระหน่ำฉีดแมกใหญ่เพื่อให้ใบเขียวจัด ผลเสีย คือใบเขียวเข้มก็จริง แต่ใบแคระแกรนเล็ก ใบกรอบ กระด้าง เชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียโรคใบไหม้จะเจาะเข้าง่าย เป็นอาการที่ใบได้รับ แมกจนเป็นพิษ ประสิทธิภาพของใบในการสังเคราะห์แสง และเก็บอาหารลดลง ให้แมกแค่ใบเขียวสดพอคับ เขียวเข้มนี่เป็นการสะสมอาหารครับ เกิดจากการได้รับธาตุอาหารกลุ่ม เมทัล (ธาตุอาหารเสริมที่ช่วยในเรื่องการสังเคราะห์แสงครับอ่านทบทวนเรื่องปุ๋ยได้ที่ http://www.baangonong.com/b/3 นะครับ
ทำไมผมไม่แนะนำให้ใช้แมกนีเซียมซัลเฟตที่เรียกว่ากลีเซอร์ไรด์ ทั้งๆที่เปอร์เซ็น ธาตุแมกนีเซียม และซัลเฟอร์สูงกว่าเยอะ ทั้งนี้เพราะเจ้ากลีเซอร์ไรด์ ละลายช้ามาก ๆ ครับ มันเหมาะกับพืชพวก ปาล์ม แต่ไม่เหมาะกับ พืชไร่ และพืช สวน ที่มีวงจรการเติบโตเร็ว อย่างเช่น ข้าวโพด ข้าว แตงโม แตงกวา มะเขือ พวกนี้วงจรการเติบโตสั้น คับ 55-65 วันก็เก็บผลผลิตหมด แล้วถ้าใช้ เจ้ากลีเซอร์ไรด์แมกนีเซียมละลายออกมาไม่ทันใช้ครับ ในทำนองเดียวกัน ถ้าเป็นพืชสวน เช่น ทุเรียน มะม่วง และพืช อื่น ๆ ที่มีวงจรแตกใบ 1 แล้วแตกใบ 2 แล้วแตกดอก แบบนี้ก็ต้องใช้เจ้าแมกนีเซียมซัลเฟตเฮปต้าไฮเดรต เหมือนกันเพราะพอแตกใบ 1 พืชก็ต้องการใช้แมกนีเซียม (Mg )เพื่อเอาไปสังเคราะห์เป็นคลอโรฟิลล์ ถ้าไม่มี Mg ใบก็ไม่เขียวสร้างอาหารไม่ได้ เพราะไม่มีคลอโรฟิลล์เพียงพอถ้ามัวไปใช้เจ้ากลีเซอร์ไรด์ แมกนีเซียมจะละลายออกมาไม่ทันใช้อีกครับ
ดังนั้นถ้าเป็นพืชสวน พืชไร่ทั่วไป เวลาหาปุ๋ย แมกนีเซียมมาใส่ ให้ใช้แมกนีเซียมซัลเฟตเฮปต้าไฮเดรต ที่เรียกว่า ดีเกลือฝรั่ง นะครับ ใส่ทางดินดีที่สุดถูกที่สุด แล้วปัญหาอีกอย่างที่มักจะพบคือ เพื่อน ๆ เกษตรกรหลายท่านจะใส่แมกนีเซียมเดี่ยว ๆ ฉีดทางใบมากไป เพราะเข้าใจว่าแมกนีเซียมทำให้ใบเขียว ที่เข้าใจนั้นถูกคับ แต่ถูกแค่ครึ่งเดียว แมกนีเซียมทำให้ใบเขียว แต่เป็นเขียวแค่เขียวคลอโรฟิลล์ ซึ่งจะมีสีเขียวแบบเขียวสดไม่ใช่เขียวเข้ม แต่เราคิดว่าที่ใบเขียวเพราะแมก เลยกระหน่ำฉีดแมกใหญ่เพื่อให้ใบเขียวจัด ผลเสีย คือใบเขียวเข้มก็จริง แต่ใบแคระแกรนเล็ก ใบกรอบ กระด้าง เชื้อรา หรือเชื้อแบคทีเรียโรคใบไหม้จะเจาะเข้าง่าย เป็นอาการที่ใบได้รับ แมกจนเป็นพิษ ประสิทธิภาพของใบในการสังเคราะห์แสง และเก็บอาหารลดลง ให้แมกแค่ใบเขียวสดพอคับ เขียวเข้มนี่เป็นการสะสมอาหารครับ เกิดจากการได้รับธาตุอาหารกลุ่ม เมทัล (ธาตุอาหารเสริมที่ช่วยในเรื่องการสังเคราะห์แสงครับอ่านทบทวนเรื่องปุ๋ยได้ที่ http://www.baangonong.com/b/3 นะครับ
ขอบคุณสำหรับความรู้ดีๆครับ
ตอบลบ