1 ในสุดยอดเคล็ดวิชาการทำการเกษตร "ทำอย่างไรให้พืชใบเขียวเข้ม"


           พืชทุกชนิดที่ต้องการผล เช่น ทุเรียน มังคุต เงาะ ข้าว ข้าวโพด มะนาว ฯลฯ เกษตรกรทุกท่านอยากให้เนื้อรสชาติอร่อย อยากให้ลูกใหญ่ อยากให้หวาน อยากให้ลูกดก คำถามคือทำอย่างไร ใส่ปุ๋ยเทวดาอะไร ใส่อาหารเสริมขั้นเทพตัวไหน เปล่าเลยคับ หนึ่งในกลไกที่สำคัญคือให้พืชสะสมอาหารเต็มที่ การสะสมอาหารเต็มที่เราจะสังเกตออกเลย คือ พืชจะใบใหญ่ แข็ง หนา เขียวเข้ม กิ่งก้านอ้วนขึ้น ใช่แล้วคับ ใบเขียวเข้ม ใหญ่ หนา นี่คือ สิ่งที่เกษตรกรทุกท่านต้องการ ไม่ว่าจะปลูกอะไรทั้งผลไม้ พืชสวน พืชไร่ เมล่อน แคนตาลูป เงาะ ลำไย ทุเรียน แตงโม ฟักทอง ฯลฯ หรือ แม้กระทั่ง ข้าว ข้าวโพด มัน ขิง ข่า ตะไคร่ ฯลฯ 
          
       
  การทำใบให้เขียวเข้ม หนา ใหญ่ ทำอย่างไร ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าใบเขียวนั้นมี จังหวะ ซึ่งต้องการธาตุอาหารต่างกัน จังหวะการเขียวเป็นแบบนี้ครับ
     
     
          จังหวะที่ 
เขียวคลอโรฟิลล์ 

          เขียวแรกที่เรามองเห็นคือ เขียวจากสีของ คลอโรฟิลล์ในใบพืช ตัวธาตุอาหารที่เป็นหัวใจในการสร้างความเขียวของคลอโรฟิลล์ช่วงนี้คือ ไนโตรเจน (N) และแมกนีเซียม (Mg) แล้วเราต้องให้ปุ๋ยตัวไหนเพื่อให้ได้ธาตุ ตัวนี้ สำหรับไนโตรเจน ง่าย ๆ เลยครับใช้ จาก ปุ๋ย สูตรเสมอ 15-15-15, 16-16-16, 20-20-20 สูตรไหนยี่ห้อไหนก็ได้ ขอให้คุณภาพดีผสมกับ แคลเซียมไนเตรท (CaNo3) สูตร 15-0-0 ครับ ส่วนแมกนิเซียม (Mg) จะได้จาก MgSo4.7H2O หรือที่ภาษาชาวบ้านเรียกว่า "ดีเกลือฝรั่ง"  (ทบทวนเรื่อง Mg ได้ที่นี่นะครับ http://www.baangonong.com/b/6 )  ส่วนใหญ่ผมจะเอาปุ๋ยสูตรเสมอมาผสมกับ 15-0-0 และ Mg ผสมแล้วรวมได้ ธาตุอาหารพืช ชนิด คือ N P K Ca Mg S ( แต่ต้องปรับสัดส่วนให้เข้ากับจังหวะการโตของพืช ยกเว้นช่วงขยายลุก และทำหวาน ผมจะไม่ใช้สูตรเสมอผสม ) ถ้าใส่ปุ๋ยถูกได้สัดส่วนพอดีใบพืชจะเขียวโดยเขียวตอนนี้เราจะเห็นใบสีเขียวสด ๆ จำให้ดี ๆ นะคับ แค่เขียวสดพอ ไม่ใช่เขียวแก่ ถ้าใบกลายเป็นเขียวแก่ ในช่วงนี้แสดงว่า เราใส่ หรือ Mg มากไป หรือ ทั้ง และ Mg มากไปจนเป็นพิษ แล้วจะเป็นผลเสียกับพืช 
          
          จังหวะที่ 
เขียวจากการสังเคราะห์แสง (สร้างอาหารเก็บไว้ในใบ)
          กลไกของพืชจะเป็นแบบนี้ครับ พอพืชมีคลอโรฟิลล์มากพอแล้ว อาการคลอโรฟิลล์มากพอคือสีใบจะเปลี่ยนจากเขียวอ่อนเป็น เขียวสด (แค่เขียวสดเท่านั้นนะคับ ไม่ใช่เขียวแก่ ) พืชจะเริ่มขบวนการสังเคราะห์แสง โดยธาตุที่จำเป็นเป็นหัวใจในการสังเคราะห์แสงคือ Fe Mn Zn Cu เป็นจุลธาตโลหะในกลุ่ม Metal พอคลอโรฟิลล์ สังเคราะห์แสง ได้อาหาร อาหารก็จะเก็บไว้ในใบ ใบจึงมีสีเข้มขึ้น และหนาขึ้น ใบที่ยิ่งเขียวเข้มหนา แสดงว่ามีอาหารคือ คาร์บอไฮเดรต และน้ำตาล สะสมไว้เยอะ( พืชที่ใบเขียวอ่อน และบาง คือไม่มีอาหารสะสมอยู่ในต้น ผลผลิตต่ำมากแน่นอน) การที่พืชได้รับ Fe Mn Zn Cu ในปริมาณ และ อัตราส่วนที่เหมาะสมจะเร่งการสังเคราะห์แสง ทำให้ใบแก่ใบหนาเร็วขึ้นอย่างรวดเร็ว 
          
         จากการทดลองหลายต่อหลายครั้ง โดยการให้ 
Fe Mn Zn Cu ทางใบในรูปสารละลาย                     คีเลต EDTA ซึ่งผมชอบเรียกว่า Metal EDTA ร่วมกับสารจับใบซึ่งเป็นวิธีการให้จุลธาตุ Fe Mn Zn Cu แก่พืชที่ดีมากที่สุดวิธีหนึ่งในปัจจุบัน พบว่า พืชสามารถสังเคราะห์อาหารได้เร็วมากขึ้นมาก ใบพืชจึงหนาเขียวเข้มอย่างรวดเร็ว ทำให้ ผลใหญ่ ดก รสชาติดี มีความต้านทานโรคมากขึ้น ด้วยต้นทุนที่ถูกลงมากขึ้นกว่าเดิมเป็น การเพิ่มผลผลิต โดยลดต้นทุนลง ส่วนพืชแต่ละชนิดความต้องการหรือสัดส่วนของธาตเหล่านี้จะต่างกัน ลองทำดุนะคับผลผลิตจะดีมากขึ้นจริงๆ
เครดิตข้อมูลจาก:ใส่ปุ๋ยให้ถูกพืชก็งาม by อ.ภพ Pobsak Panasrithong และ www.baangonong.com

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใส่ปุ๋ยให้ถูกเมล่อนก็งาม ตอนที่2 (ตอนจบ)

ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตเฮปต้าไฮเดรตหรือ “ดีเกลือฝรั่ง” มีประโยชน์กับพืชอย่างไร

ใส่ปุ๋ยให้ถูกเมล่อนก็งาม ตอนที่1