กระบวนการทำหวานให้ผลไม้



ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่าปุ๋ยหวานหรือ ปุ๋ยน้ำตาลไม่มีในโลกนะครับ มีเกษตรกรหลายท่านเข้าใจคลาดเคลื่อน!!!!! เรามักเข้าใจว่า ถ้าใส่ปุ๋ยโพตัสเซียม (K) สูง เช่น 0-0-60, 0-0-50 หรือ 13-0-46 เข้าไปแล้วผลไม้จะหวาน  จริงๆ แล้วถูกแค่ส่วนเดียวครับ ก่อนอื่นอยากให้เข้าใจกลไกความหวานก่อน ความหวานในผลไม้เกิดจาก 2 อย่างนี้นะครับ
1. ใบสะสมอาหาร เน้นนะครับว่า ใบสะสมอาหาร สะสมน้ำตาล
2. น้ำตาลจากใบ อาหารจากใบเคลื่อนย้ายมาที่ผล

การสะสมอาหารของใบ เกิดจากการที่รากดุดปุ๋ยจากดินขึ้นมาที่ใบ ( เดี่ยวนี้วิวัฒนาการทันสมัยมีการให้ปุ๋ยทางใบ เสริมทางดิน เพิ่มประสิทธิภาพได้มากขึ้น) แล้ว จากนั้นใบจะทำหน้าที่สังเคราะห์แสง คือเป็นโรงครัว เปลี่ยนปุ๋ยจากทั้งทางดิน และทางใบ คือ N P K Ca Mg S B Fe Mn Zn Cu MO Ni Cl รวมกับน้ำ และอากาศ เปลี่ยนเป็นอาหารที่พืชกินได้ ใช้ได้ จริงๆ คือ แป้ง น้ำตาล กรดอะมิโน ฮอร์โมน เอ็นไซน์ วิตามินต่างๆ กลิ่น สี รส ไม่ใช่แค่ แป้ง น้ำตาลอย่างเดียว ดังนั้นถ้าเราให้ปุ๋ยไม่ครบ การสะสมอาหารที่ใบก็จะลดน้อยลงไป ลดลงอย่างนึกไม่ถึง แทบอนุมานได้ว่า การให้ธาตุอาหารครบทุก ๆ ธาตุอาหาร 2 ชนิด จะเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงของ ใบ ขึ้นทีละ 10 เท่า เช่น ธาตุ 4 ชนิด ก็ 100 เท่า 6 ชนิดก็ 1000 เท่า ธาตุครบ 14 ชนิดก็ 10,000,000 เท่า( จริงๆ ก็ไม่เชิงเป็นเส้นตรงแบบนี้คับ แต่ เอาแบบเข้าใจง่าย ๆ)

ดังนั้น ด่านแรกต้องมีการสะสมอาหารที่ใบก่อน สังเกตยังไงคับว่าใบสะสมอาหาร คือใบต้องเขียวเข้ม และหนา ถ้าใบเขียวเข้ม ใหญ่ หนา และเยอะ ถือว่าต้นไม้สมบูรณ์ แต่ถ้าใบเขียวสด ( ไม่ใช่เขียวเข้ม ) เยอะแต่ไม่หนา เรียกบ้าใบ แบบนี้ผลผลิตไม่ดี แล้วถ้าใบสะสมอาหารเต็มที่ จะย้ายไปสะสมที่กิ่งก้าน กิ่งก้านจะอวบอ้วนเต่ง ดังนั้นถ้าใบไม่มีอาหาร ไม่มีแป้ง น้ำตาล และสารอาหารต่างๆ เช่น วิตามิน แร่ธาตุมันก็ไม่มีอะไรย้ายมาที่ลูก ต่อให้ใส่อะไรไปผลก็จืด คราวนี้ถ้าใบมี สารอาหารต่างๆ สารอาหารเหล่านี้จะย้ายมาที่ผล 

พืชจะย้ายแป้ง น้ำตาล และสารอาหารต่างๆ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ กลิ่น มาที่ลูกกลไกการย้ายมาจาก ความเข้มข้นของสารแป้ง และสารต่างๆ ที่ผลิตที่ใบ นึกออกมั๊ยคับ พอใบสังเคราะห์แสงเก็บสารอาหารต่างๆ เช่น แป้ง น้ำตาลไว้ในใบระดับความเข้มข้นของแป้ง น้ำตาลที่ใบ ก็จะสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ คราวนี้ ผลที่เพิ่งเกิดก็ยังไม่มีสารอาหารต่างๆ ในลุก ความเข้มข้นของแป้ง น้ำตาลจะต่ำ แป้ง น้ำตาลจากใบก็จะใหลผ่านท่ออาหารเข้ามาที่ลูก และซึมเข้าไปในผลโดยการทำงานของโพตัสเซียม (K) ร่วมกับ โบรอน (B) ดังนั้น K จึงเปรียบเสมือนปุ๋ยเคลื่อนย้ายความหวาน และแร่ธาตุต่าง ๆ นั่นคือ K และ B เป็น ระบบขนส่งภายในของต้นไม้โดยมีท่ออาหารเป็นเหมือนถนน สรุปแบบสั้น ๆ ถ้าใส่ปุ๋ยให้ครบ ให้ใบสะสมอาหารเต็มที่ แล้วให้ปุ๋ย ที่มี  K สูงร่วม กับ B (ส่วน B ผมแนะเสมอว่าให้เลือก 15-0-0+B) แบบนี้ หวานแน่ แถมรสชาติ กลมกล่อมหอมครบถ้วนคับ กลับกันคับ ถ้าใบไม่สะสมอาหาร ใส่อะไรก็ไม่หวานนะครับ


เครดิตข้อมูลจาก:ใส่ปุ๋ยให้ถูกพืชก็งาม by อ.ภพ Pobsak Panasrithong และ www.baangonong.com/article

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใส่ปุ๋ยให้ถูกเมล่อนก็งาม ตอนที่2 (ตอนจบ)

ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตเฮปต้าไฮเดรตหรือ “ดีเกลือฝรั่ง” มีประโยชน์กับพืชอย่างไร

ใส่ปุ๋ยให้ถูกเมล่อนก็งาม ตอนที่1