ปุ๋ยหวาน หรือทีถูกควรเรียกปุ๋ยเคลื่อนย้ายความหวาน





ปกติปุ๋ยหวานที่เกษตรกรรู้จักกันดี คือ 0-0-50 กับ 0-0-60 ( สองตัวนี้ดูคล้ายกันแต่แตกต่างกันอย่างมาก ไว้มีโอกาสจะอธิบายให้ฟังในบทความถัดๆไปนะครับ) เกษตรกรที่ปลูกผลไม้ที่มีความหวาน เช่น เมล่อน ลำไย ทุเรียน เงาะ ฯลฯ หรือ แม้กระทั่งพืชที่ไม่ได้เน้นความหวานเช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าว ฯลฯ รู้ว่าช่วงสุดท้ายก่อนเก็บผลผลิตต้องใส่ ปุ๋ยหวาน โดยเข้าใจว่าใส่แล้วผลไม้จะหวาน หรือผลผลิตดีขึ้น แล้วมันจริงหรือที่ใส่แล้วผลไม้มันหวาน หรือหวานขึ้น จริงคับ ใส่ 0-0-50 หรือ 0-0-60 แล้วมันหวานขึ้น แต่ ๆๆๆอย่าเข้าใจผิดเจ้าปุ๋ย 2 ตัวนี้ ใส่เข้าไปแล้ว ผลของมัน อ่านดี ๆๆนะคับ ผลของมัน….ทำให้ผลไม้หวานขึ้น แต่มันไม่ได้เป็นตัวทำให้ผลไม้หวานขึ้น อ้าวงงเลย เขียนแบบนี้

จริง ๆ มันเป็นตัวที่ช่วยเคลื่อนย้ายน้ำตาลที่ใบ ที่ต้น น้ำตาลที่พืชสร้างขึ้นจากการสังเคราะห์แสงแล้วย้ายมาที่ลูกคับ ไอ้เจ้า 0-0-50 หรือ 0-0-60 มันไม่ใช่ตัวทำหวาน มันไม่ใช่ตัวสร้างน้ำตาล มันเป็น ระบบขนส่งสารอาหารภายในต้นไม้ ถ้าที่ใบ มีน้ำตาล มันก็ขนน้ำตาลมา ถ้าที่ใบไม่มีน้ำตาล มันก็ไม่มีอะไรจะขนมา ใส่ไปก็ไม่ค่อยได้อะไร

ดังนั้นเทคนิคที่สำคัญก่อนทำหวานคือต้องบำรุงใบ การบำรุงใบมักเข้าใจผิดกันมากว่าคือการกระหน่ำใส่ปุ๋ยให้ใบเขียว ไม่ใช่คับ ใบที่สมบูรณ์คือใบที่หนาและเขียวเข้มซึ่งหมายความว่า ใบสะสมอาหารมากพอเลี้ยงผลให้ได้คุณภาพ แต่ต้องเป็นความเขียวเข้ม และหนาที่เกิดจากการสังเคราะห์แสงเก็บอาหารไว้ที่ใบ (ไม่ใช่ใส่ปุ๋ยผิดตัวมากไปเช่นกระหน่ำใส่ 46-0-0 หรือ 11-0-0 จนใบเขียวเข้มแต่ไม่ได้สะสมอาหาร) ดังนั้นก่อนใส่ 0-0-50 หรือ 0-0-60 ที่เรียกว่า ปุ๋ยหวาน ซึ่งผมคิดว่าต่อไปควรจะเรียกให้ถูกว่า ปุ๋ยเคลื่อนย้ายความหวาน (เพื่อความเข้าใจที่่ถูกต้อง) เราต้องแน่ใจว่า มีอาหารสะสมที่ใบ โดยสังเกตจากใบ ถ้าใบสีเขียวอ่อน หรือเขียวสด ไม่ใช่เขียวเข้ม ใบไม่หนา และใบมีขนาดเล็ก ใส่ไปก็ไม่หวานคับ เปลืองเงินเปล่า ๆๆ อย่าใส่เลย กลับไปบำรุงใบให้เขียวเข้มหนาก่อนนะครับ
เครดิตข้อมูลจาก:ใส่ปุ๋ยให้ถูกพืชก็งาม by อ.ภพ Pobsak Panasrithong และ www.baangonong.com/article


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ใส่ปุ๋ยให้ถูกเมล่อนก็งาม ตอนที่2 (ตอนจบ)

ปุ๋ยแมกนีเซียมซัลเฟตเฮปต้าไฮเดรตหรือ “ดีเกลือฝรั่ง” มีประโยชน์กับพืชอย่างไร

ใส่ปุ๋ยให้ถูกเมล่อนก็งาม ตอนที่1